อารยธรรมอินเดีย
อินเดีย
เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก ( ชนชาติในทวีปเอเชีย ) หลายชาติ
เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า “แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” ( Indus Civilization ) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด เมื่อประมาณ 2,500 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง
ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
(1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
![]() |
2. สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ
700ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด – อารยัน ( Indo
– Aryan ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา
สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น
3 ยุค ดังนี้
(1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า “บรามิ ลิปิ” ( Brahmi lipi ) เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช
และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ ( Gupta ) เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
ตำนานพระตรีมูรติ เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
(2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6
จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล ( Mughul ) และเข้าปกครองอินเดีย
(3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16
จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1947
No comments:
Post a Comment