อารยธรรมของไทย
แหล่งอารยธรรมไทย
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
(State Party of the
World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗
กันยายน ๒๕๓๐ และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะ
กรรมการมรดกโลก
(World Heritage
Committee) มาแล้ว
๓ ครั้ง
คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘
ครั้งที่สอง
ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ – ๒๕๔๖
และครั้งล่าสุดระหว่างปี
พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖
ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว
๕
แห่ง ดังนี้
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
๓ แห่ง
1 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย
และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่
๑๕ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก
มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น
มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก
ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน
ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ ๖๐
กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก
ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร
อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง
ลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูวางแนวยาวขนานกับลำน้ำปิง
มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต
สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี
ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดด
มรดกโลก
สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบัน
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
ในปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
มีลักษณะการใช้พื้นที่ทั้งส่วนที่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการดูแลโดยกรมศิลปากร
และพื้นที่ข้างเคียงซึ่งที่อยู่อาศัยของชุมชนท้องถิ่น
โดยกำหนดและจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างชัดเจน
รวมทั้งควบคุมสิ่งก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
โดยคณะกรรมการพิจารณาการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตโบราณสถาน
ร่วมกันพิจารณาเพื่อนำเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมศิลปากรผู้อำนาจในการอนุญาต
ปัจจุบันชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เริ่มขยายตัวพร้อมๆ
กับการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของเมืองประวัติศาสตร์และเป็นเมืองมรดกโลก เช่น
การสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้นภายในเขตเมืองเก่า ตลอดจนบดบังทัศนียภาพ
หรือสภาพภูมิทัศน์ ทำให้ขาดความสง่างามและคุณค่าของโบราณสถาน
รวมทั้งการขาดหน่วยงานที่ต้องดำเนินการ ด้านอนุรักษ์การอย่างพอเพียง ดังนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน
ให้ตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม
และช่วยกันดูแลรักษาให้เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
2 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ
กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี-อยุธยา
ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย
อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๗๖ กิโลเมตร
ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต
ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ ๓ สายคือ แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก
และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้
ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน
เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก
ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชียและของโลก
ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๓
No comments:
Post a Comment